วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

Context Clues

การเดาความหมายโดยใช้บริบท (Context clues)

    เมื่ออ่านเรื่องหรือข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษ สิ่งที่ทำให้ไม่เข้าใจคือคำศัพท์ เพื่อจะได้ทราบความหมายของคำศัพท์นักเรียนจะเปิดพจนานุกรม(Dictionary) วิธีการนี้ช่วยนักเรียนได้ก็จริงแต่ทำให้นักเรียนเสียเวลามาก การอ่านหยุดชะงักไม่ต่อเนื่อง มีวิธีการอื่นที่ทำให้นักเรียนทราบความหมายของคำศัพท์ คำใหม่หรือคำที่ไม่คุ้นเคยโดยไม่ต้องเปิดพจนานุกรมคือ การเดาความหมายของศัพท์จากบริบท(Context)
     บริบท (Context clue) หมายถึง คำหรือข้อความที่อยู่แวดล้อมคำศัพท์ที่ไม่ทราบความหมายโดยตรงของคำนั้นหรืออาจใช้ข้อมูลบางอย่างที่ช่วยให้นักเรียนทราบความหมายคำศัพท์ได้
     การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท มีดังนี้
1. เดาจากการนิยามศัพท์หรือบอกความหมาย โดยการดูที่ตัวชี้นำ (Clue) ที่มีในประโยค ดังนี้
                        is / are                          คือ
                        mean                            หมายถึง
                        is called / are called        เรียกว่า
ตัวอย่างประโยค เช่น
A ship means a big boat.
ตัวชี้นำ                                คือ                   means
ข้อความหลังคำว่า means        คือ                  นิยามหรือความหมายของคำว่า ship
a big boat                           คือ                   นิยามหรือความหมายของ ship
สรุปว่า ship                          คือ                   เรือใหญ่

A puppy is a baby dog.
ตัวชี้นำ                           คือ       is
ข้อความหลังคำว่า is         คือ       นิยามหรือความหมายของคำว่า puppy
a baby dog                    คือ       นิยามหรือความหมายของ puppy
สรุปว่า puppy                 คือ       ลูกสุนัข

A motion picture is called a movie.
ตัวชี้นำ                                คือ         is called
ข้อความหลังคำว่า means       คือ         นิยามหรือความหมายของคำว่า movie
a big boat                           คือ         นิยามหรือความหมายของ movie
สรุปว่า movie                       คือ         ภาพที่เคลื่อนไหว หรือภาพยนตร์นั่นเอง

2. เดาจากการแสดงความขัดแย้ง โดยจะมีคำที่ให้ความหมายตรงข้ามกับคำที่เราไม่ทราบความหมายซึ่งอาจจะอยู่ในประโยคเดียวกันหรือถัดมา ตัวชี้นำ (Clue)นั้นคือ
but         แต่
ตัวอย่างประโยคเช่น
My father is very busy, but my mother is free.
คำศัพท์ที่ไม่ทราบความหมาย         คือ      busy
ตัวชี้นำ                                     คือ      but
คำที่บอกความหมายตรงข้าม                   free
free       มีความหมายว่า       ว่าง
busy      มีความหมายว่า       ไม่ว่าง หรือยุ่ง
ดังนั้น My father is very busy, but my mother is free.
คือ     พ่อของฉันยุ่งมากแต่แม่ของฉันว่าง

3. เดาจากการกล่าวซ้ำ โดยใช้ภาษาง่าย ๆ โดยกล่าวซ้ำภายในประโยคเดียวกันแต่ใช้ถ้อยคำที่ต่างกัน ซึ่งตัวชี้นำ (Clue) ความหมาย คือ
Or             หรือ
ตัวอย่างประโยคเช่น
Judy feeds, or gives food to her pigs very day.
คำศัพท์ที่ไม่ทราบความหมาย      คือ    feed
ตัวชี้นำ                                  คือ    or
กล่าวซ้ำความหมายด้วย        gives food
gives food       หมายความว่า       ให้อาหาร
ดังนั้น feed       มีหมายความว่า      ให้อาหาร

4. เดาจากการใช้ตัวอย่าง โดยการให้ตัวอย่างเป็นข้อมูลช่วยในการวิเคราะห์ความหมายคำศัพท์ซึ่งตัวชี้นำ (Clue) ความหมาย คือ
such as                    เช่น
for example             ตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างประโยคเช่น
Students study many subjects; for example, Math, Science, Art and English.
คำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย        คือ        subject
ตัวชี้นำ                               คือ        for example
ตัวอย่างที่ให้มา                    คือ        Math, Science, Art and English.
ตัวอย่างที่ยกมา                    คือ        วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะและภาษาอังกฤษ
ดังนั้นสรุปได้ว่า subject         คือ        วิชา

5. เดาจากการแสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ถ้าคำศัพท์ที่ไม่ทราบความหมายอยู่ในส่วนที่เป็นเหตุให้พิจารณาที่ข้อความที่เป็นผล และถ้าคำศัพท์อยู่ในส่วนที่เป็นผลให้พิจารณาข้อความที่เป็นเหตุ ตัวชี้นำ (Clue) ความหมายคือ
so               ดังนั้น
because       เพราะว่า
ตัวอย่างประโยคเช่น
He wants to buy some medicine so he go to the drugstore.
คำที่ไม่รู้ความหมาย     คือ drugstore ในประโยคผล
ตัวชี้นำ                     so
พิจารณาข้อความในประโยคเหตุ        He wants to buy some medicine
ได้ความว่า          เขาต้องการซื้อยา
สรุปว่า drugstore  หมายถึงร้ายขายยา เพราะสถานที่สามารถซื้อยาคือร้านขายยา

Peter can answer the question because it is easy.
คำที่ไม่รู้ความหมาย    คือ     easyในประโยคเหตุ
ตัวชี้นำ     because
พิจารณาข้อความในประโยคเหตุ Peter can answer the question
ได้ความว่า ปีเตอร์สามารถตอบคำถามได้
สรุปว่า easy หมายถึง คำถามง่ายจึงทำให้ปีเตอร์สามารถตอบได้

6. เดาจากประโยคที่กล่าวมาก่อนหรือตามหลัง
ตัวอย่างประโยคเช่น
Lisa’s brother is lazy.
ถ้านักเรียนไม่ทราบความหมายของคำว่า lazy นักเรียนเดาความหมายไม่ได้แต่
ถ้ามีประโยคเพิ่มขึ้นว่า Lisa’s brother is lazy. He doesn’t work. He likes to sit,
watches TV and sleep.
ข้อความหลังคำศัพท์ lazy อธิบายว่าน้องลิซ่าไม่ชอบทำงานชอบนั่งเฉยๆ ดูทีวี
และนอนหลับ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ทำให้ทราบว่า lazy คือ ขี้เกียจ

7. เดาโดยอาศัยคำแสดงความหมายเหมือน(Synonym) คำที่มีความหมายเหมือนกับ
คำศัพท์ที่อยู่ในประโยคนั้น ๆ เช่น ตัวชี้นำ (Clue) ที่ให้ความหมายเช่น
too                ด้วยเหมือนกัน
also               แล้วก็
and               และ
ตัวอย่างประโยคเช่น
That boy was poor, and that girl was not have money too.
คำที่ไม่รู้ความหมาย poor
ตัวชี้นำ and that girl was not have money too.
พิจารณาจากประโยคว่า ผู้หญิงคนนั้นไม่มีเงินเหมือนกัน
ได้ความว่า ผู้ชายคนนั้นไม่มีเงิน
สรุปว่า poor มีความหมายว่า ไม่มีเงินหรือจนนั่นเอง

8. เดาโดยอาศัยคำตรงข้าม (Antonym) กล่าวคือ บริบทประเภทนี้จะมีคำชี้แนะ(Clue)
but
rather than
in contrast
nevertheless
however
ตัวอย่างประโยคเช่น
The policeman caught two suspects , but they released them two hours later.
คำที่ไม่รู้ความหมาย   caught
ตัวชี้นำ      but they released them two hours later.
พิจารณาจากประโยคว่า     แต่ถูกปล่อยตัวไปเมื่อ 2 ชั่วโมงต่อมา
ได้ความได้ว่า     มีการกระทำที่ตรงข้ามกับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา
สรุปว่า caught   มีความหมายตรงข้ามกัน นั่นคือแปลว่า ถูกจับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น